ทำ
Textbox แบบวินโดวส์
1. เริ่มแรกให้คุณวาดรูปสี่เหลี่ยมสีขาวขึ้นมา
ขนาดพอประมาณ แล้วใช้เครื่องมือ Line กำหนดสีของเส้นเป็นสีดำ
แล้วลากเส้นทับขอบของสี่เหลี่ยมทางด้านบนและด้านซ้าย เสร็จแล้วเปลี่ยนสีของเส้นเป็นสีเทาอ่อน
ลากเส้นทับขอบสี่เหลี่ยนทางด้านล่างและด้านขวา จะเห็นว่า Textbox ของเราจะดูลึกเหมือน
Textbox ของวินโดวส์จริงๆ คุณสามารถนำเทคนิคนี้ไปใช้ในการทำกรอบสี่เหลี่ยมให้นูนขึ้นได้
ถ้าคุณอยากเห็นตัวอย่างแบบชัดๆก็ให้ไปที่เมนู Windows
-> Inspectors -> Generator จะมีหน้าต่าง Generator
ขึ้นมา ถ้าคุณยังไม่ได้ติดตั้งโปรแกรม Macromedia Generator 2 ละก็ในนั้นจะมีเพียงข้อความให้คุณไปหาโปรแกรม
Generator 2 มาติดตั้งเท่านั้นเอง แต่ตรงข้อความนี้จะเป็น Flash ให้เราคลิ๊กขวาเพื่อซูมเข้าไปดูตรงส่วนกรอบข้างๆ
จะเห็นว่าเขาก็ใช้วิธีนี้เพื่อทำให้กรอบดูนูนขึ้นเหมือนกัน
|

วาดพื้นหลัง
|

ลากเส้นทับขอบบนและ
ขอบทางซ้ายของรูป
|

เปลี่ยนสีเป็นสีเทาอ่อน
|

ลากเส้นทับที่ขอบล่างและ
ขอบทางขวาของรูปอีกครั้ง
|
ทำกรอบที่มีมุมโค้งให้ดูลึก-นูน
1. กรอบที่มีมุมโค้งนั้นไม่สามารถใช้วิธีการเดียวกันกับการทำ
TextBox ได้ เราจะใช้อีกวิธีหนึ่งก็คือ ใช้เส้นกรอบ 3 เส้น 3 สี เริ่มแรกให้คุณวาดรูปสี่เหลี่ยมมุมโค้งขึ้นมาก่อน
1 รูป (กำหนดความโค้งได้ที่ปุ่ม Round rectangle
radius ถ้าผมจำไม่ผิด ปุ่มนี้จะมีในโปรแกรม Flash4 เท่านั้น)
กำหนดความหนาประมาณ 4 pts เพื่อให้เห็นได้ชัด
แล้วใช้เครื่องมือ Arrow ทำการ Select
รูปนี้ กด Ctrl+C เพื่อก๊อปปี้
2. เปิดเลเยอร์ขึ้นมา 1
เลเยอร์จะมีชื่อว่า Layer2 แล้วกด Ctrl+V
เพื่อวางรูป เพิ่มเลเยอร์ขึ้นมาใหม่เป็น Layer3 กด Ctrl+V
เพื่อวางรูปอีกครั้ง โดยรูปใน Layer3 จะเป็นกรอบจริงๆ ส่วนรูปใน Layer2
จะเป็นส่วนที่โดนแสงสว่าง ซึ่งจะต้องให้สีของเส้นนั้นอ่อนกว่าสีพื้นหลัง
และใน Layer1 จะเป็นส่วนที่ไม่โดนแสง ก็จะต้องให้สีของเส้นนั้นอ่อนกว่าสีพื้นหลัง
3. เลื่อนรูปใน Layer2 ให้เยื้องขึ้นมาทางด้านบนซ้ายของรูปที่อยู่ใน
Layer3 แล้วเลื่อนรูปที่อยู่ใน Layer1 ให้เยื้องลงมาทางด้านล่างขวาของรูปที่อยู่ใน
Layer3 เสร็จแล้วใช้เครื่องมือ Eraser
ทำการตกแต่งขอบให้ดูเป็นมิติ โดยจะมีวิธีการทำดังนี้
- ถ้าต้องการให้ภาพนูนขึ้น
เราจะต้องลบรูปที่เกินเส้นของรูปใน Layer3 เข้ามาทางด้านในออก หรือจะใช้วิธี
Fill สีลงในรูปที่อยู่ใน Layer3 ก็ได้ครับ จะได้ไม่ต้องเสียเวลาลบ
- ถ้าต้องการให้ภาพดูลึก
เราจะต้องลบรูปที่เกินเส้นของรูปใน Layer3 ออกไปทางด้านนอกออก
|

ตั้งค่าความโค้ง

วาดกรอบลงไปก่อน
|

ทำกรอบเพิ่มอีก 2 อัน
|

ลงสีให้ต่างกัน
(ตรงส่วนที่โดนแสงกับไม่โดนแสง)
|

เลื่อนเข้ามาให้ชิดแบบนี้
|

กรอบนูนที่เสร็จแล้ว
|
ทำ
Glow ให้กับภาพ
คุณรู้หรือไม่ว่าคุณสามารถใส่ Glow ให้กับรูปภาพได้โดยไม่ต้องใช้วิธี
import รูปเข้ามาเลย แต่เท่าที่ผมทดสอบแล้ว วิธีนี้อาจะใช้ได้ผลไม่ถึง
100% กับรูปที่มีส่วนโค้งมากๆๆๆ แต่ถ้ากับรูปที่มีส่วนโค้งน้อยแล้วละก็ชัวร์ครับ
1. พิมพ์ตัวอักษร D
ลงไป แล้วเลือกเครื่องมือ Arrow กด Ctrl+B
เพื่อทำตัวอักษรให้เป็นลายเส้น ในขณะที่ตัว D ถูกเลือกอยู่นั้ให้กด Ctrl+C
เพื่อก๊อปปี้เก็บไว้ในคลิปบอร์ด แล้วไปที่เมนู Modify
-> Curves -> Soften Edges จะมีหน้าต่าง soften
Edges ขึ้นมา ในช่อง Distance กำหนดเป็น
8 px ช่อง Number
of steps กำหนดเป็น 20 และในช่อง
Direction กำหนดเป็น Expand
กด OK
2. หลังจากที่เราได้ Glow
แล้วให้กด Ctrl+Shift+V เพื่อวางตัวอักษร
D ที่ก๊อปปี้เอาไว้ที่เดิม(ถ้ากด Ctrl+V
จะวางไว้ไม่ตรงกับจุดเดิม) แล้วใช้เครื่องมือ Fill
ลงสีในตัวอักษร D ที่ถูกเลือก (Select)อยู่ เท่านี้เราก็ได้ Glow แล้วครับ
ในส่วนคำสั่ง Soften Edges นั้นจะมีรายละเอียดไม่มาก
สามารถศึกษาได้ง่าย แต่ว่ามันจะยากตรงที่การปรับค่าในช่อง Distance
กับช่อง Number of Steps ให้เหมาะสมกับรูปเท่านั้นเอง
ถ้าคุณปรับค่าไม่เหมาะสมกับรูปละก็ รูปที่ได้ก็จะเละไปเลย อีกคำสั่งที่ผมจะแนะนำก็คือคำสั่ง
Line to Fill มีไว้เปลี่ยนเส้นให้เป็นสีที่ถูก
Fill (ชื่อคำสั่งก็บอกอยู่แล้ว) ซึ่งคำสั่งนี้อยู่ที่เมนู Modify
-> curves -> Line to Fill
|

พิมพ์ตัว D ลงไปแล้วกด Ctrl+B

ใส่ค่าตามนี้

เสร็จแล้ว
|
Macromedia
Firework 3.0
สำหรับการใช้โปรแกรม Macromedia FireWork 3 มาช่วยในการทำภาพ
3 มิติหรือภาพอื่นๆนั้นง่ายมากครับ(ถ้าคุณเคยใช้โปรแกรม PhotoShop มาแล้ว)
เนื่องจากคำสั่งต่างๆเหมือนกันหมด แถมคุณยังสามารถนำปลั๊กอินจากโปรแกรม
PhotoShop มาใช้ในโปรแกรมนี้ได้ด้วย เพียงแค่คุณก๊อปปี้ไฟล์ปลั๊กอินของโปรแกรม
PhotoShop จาก C:\Program Files\Adobe\Photoshop
5.0\Plug-Ins มายัง C:\Program Files\Macromedia\Fireworks
3\Settings\Xtras เท่านั้นเองครับ
|
วิธีการ
Export ออกไปใช้งานใน Flash 4
เมื่อคุณสร้างภาพที่ต้องการจะนำไปใช้ในโปรแกรม Flash 4 เสร็จแล้ว
ก็ให้ไปที่เมนู File -> Export special -> Flash
SWF จะมีหน้าต่าง Export Special
ขึ้นมาให้เลือกไฟล์ที่ต้องการจะ Export ออกไป แต่ช้าก่อนครับ ให้คุณคลิ๊กที่ปุ่ม
Setup จะมีหน้าต่าง Flash
SWF Export Options ขึ้นมา ให้คุณเลือก Maintain
Appearance ในช่อง Objects การเลือกอันนี้จะเป็นการทำให้รูปนั้นกลายเป็นภาพบิตแมปธรรมดา
แต่จะไม่ธรรดาตรงที่ส่วนที่เป็นส่วนโปร่งแสงนั้นจะโปร่งแสงจริงๆเมื่อนำมาใช้ใน
Flash4 ในทางตรงกันข้ามถ้าคุณเลือก Maintain Paths
จะเป็นการทำให้รูปนั้นเป็นลายเส้นของ Flash จริงๆ ซึ่งหมายความว่า Effect
ต่างๆที่คุณใส่ลงไปเช่น Drop Shadow, Glow
เป็นต้น จะถูกตัดออกไป(ลองทำเองจะเข้าใจมากกว่า) และเมื่อคุณ Import
เข้าไปในโปรแกรม Flash4 โปรแกรมนี้จะไม่มองวัตถุนี้เป็นภาพบิตแมป แต่จะมองเป็นลายเส้นที่ถูกทำเป็น
Group แทน |
|